Python คืออะไร?

ภาษาโปรแกรม Python คืออะไร ?

Python (ไพทอน) คือหนึ่งในภาษาโปรแกรมระดับสูงที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ถูกออกแบบเพื่อให้มีโครงสร้างและ ไวยากรณ์ของภาษาที่ไม่ซับซ้อน เข้าใจง่าย มีการใช้พัฒนาแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ รวมถึงแอปบนมือถือหรือ อุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย หน้าที่ของ Python ก็คือการทำงานแปลชุดคำสั่งทีละบรรทัดเพื่อป้อนเข้าสู่หน่วยประมวลผล ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ หรือเรียกว่าการทำงานแบบ Interpreter นั่นเอง ด้วยภาษาที่ง่ายในการเขียน “Python” จึงมีความเหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นเขียนโปรแกรมไปจนถึงนักพัฒนาในองค์กรบริษัทใหญ่ อย่างเช่น Netflix, Spotify, Google, Amazon, และ Facebook เป็นต้น

Skooldio blog - Python คืออะไร? | Python

แล้วสรุปมันง่ายยังไง ?

อย่างที่กล่าวไว้ในช่วงต้นว่า Python ถูกออกแบบมาให้ง่ายต่อการเขียน อ่าน และเรียนรู้ เรามาดูกันเลยว่ามันง่ายยังไง

ง่ายต่อการเรียนรู้

เมื่อเปรียบเทียบ Python กับภาษาอื่นๆอย่างเช่น Java ถือว่า Python เป็นภาษาที่ง่ายที่สุดในการเรียนรู้ เป็นการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented Programming) ที่มีการใช้งานง่ายประกอบกับมีตัวแปรและ ไวยากรณ์ที่ถูกออกแบบมาให้ตีความกระชับและง่ายกว่า แถมการใช้ code และการเขียน script ก็สั้น จนสามารถประหยัดเวลาได้มากเลยทีเดียว ลองมาดูตัวอย่างง่ายๆในการเขียนภาษาโปรแกรมนี้กัน เมื่อคุณอยากเขียนโปรแกรมง่ายๆให้มีการแสดงออกมาทางหน้าจอว่า “hello world!”

Skooldio blog - Python คืออะไร? | ความต่างระหว่าง Java และ Python

เปรียบเทียบภาษา Java และ ภาษา Python เห็นได้ว่า Python มีความสั้นกระชับในการเขียน Code ออกมา และหากมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นโครงสร้างที่ออกมาในรูปแบบไม่ซับซ้อนเกินไปนี้ก็จะทำให้ง่ายที่จะระบุและ จัดการถึงข้อผิดพลาด ทำให้ประหยัดเวลาลงไปเยอะเลยทีเดียว

ง่ายต่อการนำไปใช้งาน

ความต้องการในตลาดแรงงานสูง 

ในยุค Double Disruption หรือ ยุคที่เทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนแปลงแบบนี้ สกิลที่จะเข้าไปเสริมความแข็งแกร่งและเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานได้อย่างง่ายดายนั่นคือ
การเขียนโปรแกรม ก้าวแรกของการเรียน Python ถือเป็นการอัปเกรดสกิลในตัวคุณเองได้ดีเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นงานในสาย Data science และ Machine learning รวมไปถึงองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกอย่าง Netflix, Uber, Instragram และ Spotify ก็ยังนำภาษา Python ไปใช้สร้างแอพลิเคชันของตัวเองด้วย และด้วยความที่ Python เป็นภาษาที่สามารถใช้ได้หลายอย่าง จึงง่ายในการปรับและ นำไปใช้จริงในบริษัทต่างๆ

Skooldio Blog Python คืออะไร? | Netflix

หลากหลาย Platform 

ภาษาโปรแกรมนี้เองก็ยังสามารถใช้ได้หลากหลาย Platform ด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น Microsift Windows, Unix, Linux และ Mac Os เป็นต้น ดังนั้นขอบเขตของการพัฒนาโปรแกรมจึงกว้าง ทำให้เป็นที่นิยมอย่างมากและถูกใช้งานอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างที่เราพอจะรู้จักอย่างเช่น เกมส์ The Sims 4 ที่ นำ Python ไปสร้าง mod หรือนอกเหนือจากการพัฒนาในด้าน Data Science แล้วก็ยังถูกใช้ในเรื่องของ AI ที่วิเคราะห์รูปภาพต่างๆ ด้วย

Community ใหญ่ Library เยอะ 

เนื่องจากเป็นภาษาโปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั่วทุกมุมโลกเกิดผู้ใช้งาน Python เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีผู้พัฒนา Library ขึ้นมาแบ่งปันให้ได้นำไปใช้งานอย่างต่อเนื่อง รวมไป ถึงการติดขัดปัญหาตรงไหนก็ยังสามารถสอบถามหรือหาข้อมูลคำตอบได้อย่างง่ายดายนั่นเอง

ปรับเข้ากับศาสตร์อื่นได้ง่าย

ด้วยความสามารถของ Python ที่สามารถประมวลผลและถ่ายทอดงานที่ซับซ้อนออกมาได้เป็นอย่างดี และยังมี Library ที่สนับสนุนอยู่มาก จึงเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่นิยมนำไปประยุกต์ใช้กับศาสตร์แขนงอื่นๆได้อย่างง่ายดาย เช่น Machine learning Project อย่างการสร้าง emoji หน้าตัวเองด้วย Python  หรือการ run code AI ก็จะมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น รวมไปถึงการนำไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล Python ก็สามารถเป็นเครื่องมือหลักในการตอบคำถามต่างๆออกมาได้อย่างง่ายดายเลย

เราควรจะเลือกศึกษาเวอร์ชัน Python 2.x หรือ Python 3.x?

ในปัจจุบันภาษาโปรแกรม Python มีเวอร์ชันให้เลือกใช้งานคือ Python 2.x และ Python 3.x ซึ่งเผยแพร่มาตั้งแต่ในปี 2000 และ 2008 ตามลำดับ โดยระหว่างที่ผู้เขียนกำลังเขียนบทความนี้ เวอร์ชันล่าสุดคือ Python  2.7.15 และ Python 3.7.2 สำหรับปัญหาทั่วไปของผู้เริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python คือการตัดสินใจเลือกใช้งานระหว่างเวอร์ชัน Python 2.x หรือ Python 3.x แต่ก่อนที่จะตอบปัญหานี้ ผู้เขียนอยากจะขออธิบายพื้นฐานของหมายเลขเวอร์ชัน เพื่อให้เข้าใจความแตกต่างระหว่างสองเวอร์ชันนี้ก่อน โดยหลักการมาตราฐานการตั้งหมายเลขเวอร์ชันของซอฟต์แวร์ (Semantic Versioning)  เป็นการกำหนดขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชันต่าง ๆ ซึ่งมีรูปแบบประกอบด้วยหมายเลข 3 หลัก คือ X.Y.Z ทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชัน เพื่อให้ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้เป็นปกติ และรองรับฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ในอนาคต

Semantic Versioning

Major

คือเวอร์ชันการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่ม API หลักจำนวนมาก และไม่รองรับการเรียกใช้งาน API จากเวอร์ชันเก่าได้ ทำให้ชุดคำสั่งของทั้งเวอร์ชันใหม่และเวอร์ชันเก่าไม่สามารถทำงานร่วมกันได้ ตัวอย่างเช่น ชุดคำสั่งของเวอร์ชัน Python 2.x จะไม่สามารถนำมาใช้งานในเวอร์ชัน Python 3.x ได้

Minor

คือเวอร์ชันการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มฟังก์ชันการทำงานใหม่เพียงเล็กน้อย โดยไม่กระทบการทำงานของชุดคำสั่งเวอร์ชันปัจจุบันที่ใช้งานอยู่ (Backward compatibility) ตัวอย่างเช่น หากในปัจจุบันเราใช้งานเวอร์ชัน Python 3.7.2 เมื่อมีการพัฒนาเวอร์ชันใหม่เป็น Python 3.8.0 ในอนาคต ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดเพื่อติดตั้งใช้งานได้โดยไม่กระทบการทำงานของเวอร์ชันเดิมแต่อย่างใด

Patch

คือเวอร์ชันการปรับปรุงการทำงานหรือแก้ไข Bugs ต่าง ๆ ของเวอร์ชันหลักปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น หากมีการพัฒนาเวอร์ชันใหม่เป็น Python 3.7.3 ในอนาคต ผู้ใช้งานสามารถนำใช้งานได้โดยไม่กระทบการทำงานของเวอร์ชันเดิม
สำหรับเหตุผลที่ภาษาโปรแกรม Python ได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลักจากเวอร์ชัน Python 2.x ไปเป็น Python 3.x เนื่องจากมีความต้องการที่จะปรับปรุงและแก้ไขข้อเสียของเวอร์ชันเดิมที่สะสมมานาน เนื่องจากเป็นเวอร์ชันที่ออกแบบและพัฒนามาตั้งแต่ปี 2000 เพราะว่าถ้าหากต้องการที่จะแข่งขันกับภาษาโปรแกรมต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน รวมถึงภาษาโปรแกรมที่เกิดขึ้นใหม่ ที่พยายามแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกในการเขียนโปรแกรมให้ดียิ่งขึ้นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องมีการขัดเกลาและเปลี่ยนแปลงขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงหลักในเวอร์ชัน Python 3.x สามารถแบ่งออกเป็นประเด็นต่าง ๆ เช่น โครงสร้างและไวยกรณ์ของภาษา โมดูลมาตรฐาน ชนิดของข้อมูล และโครงสร้างข้อมูล เพื่อให้เวอร์ชันใหม่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากยังคงมีผู้ใช้งานเวอร์ชันเก่าจำนวนมาก และโมดูลไลบรารี่ต่าง ๆ ยังไม่รองรับกับเวอร์ชันใหม่ ดังนั้นการจะเปลี่ยนไปใช้งานเวอร์ชันใหม่ในทันทีจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะโครงการที่มีขนาดกลางและขนาดใหญ่ จึงทำให้ยังคงมีการสนับสนุนและการแก้ไข bugs ต่าง ๆ ของเวอร์ชัน Python 2.x ต่อไปอีกสักพัก
ดังนั้นสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python ผู้เขียนจึงขอแนะนำให้ตัดสินใจเลือกเวอร์ชัน Python 3.x ไปเลย เนื่องจากเวอร์ชัน Python 2.x จะไม่มีการเพิ่มเติมฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่ใด ๆ และจะได้รับการสนับสนุนไปจนถึงวันที่ 1 เดือนมกราคมปี 2020 เท่านั้น ส่วน Python 3.x จะมีการพัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชันใหม่เพิ่มเติมอีกในอนาคต ส่วนโมดูลและไลบรารีต่าง ๆ ในปัจจุบัน สามารถรองรับการทำงานของเวอร์ชัน Python 3.x ได้แล้ว นอกจากนั้นผลแบบสอบถามจาก Python Developers Survey 2018 รายงานว่านักพัฒนาได้ทำการได้เปลี่ยนมาใช้เวอร์ชัน Python 3.x ถึง 84% แล้ว

เปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้งาน Python เวอร์ชัน 3.x และ เวอร์ชัน 2.x โดยเวอร์ชัน 3 มีผู้ใช้งาน 84%

Hello, world with Python

สำหรับก้าวแรกของการเข้าสู่โลกของการเขียนโปรแกรมหรือการเรียนเขียนโปรแกรมภาษาใหม่ สิ่งหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นธรรมเนียมปฏิบัติก็คือการให้คอมพิวเตอร์แสดงประโยค “hello, world” ผ่านทางหน้าจอ ด้วยเหตุผลเพราะว่าเป็นโปรแกรมที่มีขนาดเล็กมาก มีความง่าย และสามารถเขียนได้ทุกภาษา จึงเหมาะสำหรับมือใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้น เพื่อทำความคุ้นเคยกับกระบวนการเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นยังเป็นการตรวจสอบให้แน่ใจว่าโปรแกรมที่ได้ถูกติดตั้งเพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรมมีการทำงานอย่างถูกต้อง
สำหรับการเขียนโปรแกรม hello, world ด้วยภาษาโปรแกรม Python ในบทความนี้ผู้อ่านไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมใหม่ใด ๆ โดยสามารถทำตามขั้นตอนง่าย ๆ ได้ดังนี้
1) เปิดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์และเข้าไปที่หน้าเว็บไซต์หลักทางการ https://www.python.org/
2) ให้คลิกไปยังปุ่มที่มีเครื่องหมาย  >_  จากนั้นระบบจะทำการรัน Interactive shell ขึ้นมาเพื่อใช้งาน

เปิดเว็บหลัก https://www.python.org

3) ขั้นตอนต่อไปให้พิมพคำสั่ง print (“hello, world”) ที่บริเวณคอนโซลดังภาพ จากนั้นกดปุ่ม Enter เพื่อแสดงผลลัพธ์ เป็นอันว่าเราได้เข้าสู่โลกของการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python แล้วครับ
พิมพ์คำสั่งเพื่อแสดงข้อความ hello, world
ที่มา:
https://blog.skooldio.com/what-is-python/
https://www.9experttraining.com/articles/python-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3