ความรู้เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม กฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 คือร่างแก้ใขของ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ที่ถูกปรับปรุงให้ทันสมัย เหมาะสมกับเวลาและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ดังนั้นโครงสร้างของกฎหมายสองฉบับจึงเหมือนกันเป็นส่วนใหญ่ และแน่นอนกฏหมายทั้งสองฉบับก็ต้องมีส่วนที่แตกต่างกันอยู่หลายประเด็น และหลายๆ ประเด็นก็ถูกตั้งคำถามมากมายว่าเป็นธรรมหรือไม่ เหมาะสมหรือไม่?

พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ถูกเริ่มร่างเมื่อปี 2558 และยังคงแก้ใขต่อเนื่องมาถึงปี 2560 ดังนั้น พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2558 ก็คือฉบับเดียวกันกับพ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 นั่นเอง

สรุป พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

  1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลก์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
  5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
  7. สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
  8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
  9. การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
  10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
  11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
  13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

****สรุป และรายละเอียดดีมากที่นี่ **


พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2560 ฉบับเต็ม
พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2550 ฉบับเต็ม
อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง


สรุป พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550



ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 >> http://arit.mcru.ac.th/laws/

พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ เริ่มมีผลบังคับใช้ แชร์กันอย่างไรไม่ให้ผิดกฏหมาย >> http://tech.mthai.com/software/52062.html

10 พฤติกรรมเสี่ยงคุก พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย ปอท. โพสต์ต้องคิด คลิกเสี่ยงคุก

พรบ คอมพิวเตอร์ 2550

พรบ. คอมพิวเตอร์ ปี 2554 ฉบับนักเรียน

ร่าง พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ปี 2559

รู้เท่าทันสื่อโซเชียลเน็ตเวิร์ค

“การรู้เท่าทันสื่อโฆษณาออนไลน์”

รู้ทันสื่อออนไลน์

Social Biz : สาระสำคัญ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ใหม่ 2558 (4 ส.ค. 58)

Infographic พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ ฉบับที่2 (พ.ศ.2558)

กฎหมายลิขสิทธิ์ฉบับแก้ไขใหม่ ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ปี 2558 (Motion Graphic)

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *